วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จีนคุมเข้มสื่ออินเทอร์เน็ต ควบคุมให้ประชาชนใช้ชื่อจริงในการใช้งาน!

จีนคุมเข้มสื่ออินเทอร์เน็ต ควบคุมให้ประชาชนใช้ชื่อจริงในการใช้งาน!


  จีนเขย่าโลกอินเทอร์เน็ตอีกครั้งและในคราวนี้ดูเหมือนจะมีความซีเรียสจริงจังกว่าครั้งก่อนๆ อ้างอิงจากกฎเกณฑ์ใหม่ ที่เผยแพร่โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศจีน ที่มีใจความโดยสังเขปว่า ใครก็ตามที่โพสต์ข้อความ โพสต์ข้อมูลหรือตอบคอมเม้นท์ใดๆ บนโลกออนไลน์ ต้องมีการลงทะเบียนเข้าใช้งานบริการออนไลน์เหล่านั้น ด้วยชื่อจริงเท่านั้น หรือจะใช้นามสมมุติก็ได้ แต่ก็ต้องมีการระบุชื่อจริงในระบบด้วย เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของผู้โพสต์ข้อมูลได้อย่างชัดเจนในกรณีที่เกิดมีประเด็นปัญหาขึ้นมา
 แต่ในมุมหนึ่ง กฎเกณฑ์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะทางการจีนได้กำกับดูแลให้ประชาชน ได้ใช้ชื่อจริงในการลงทะเบียนเข้าใช้บริการต่างๆ บนโลกออนไลน์อยู่แล้ว และทางการจีนก็ขับเคลื่อนเกี่ยวกับประเด็นนี้ในหลายๆ ระดับเป็นเวลากว่า 3 ปีมาแล้ว แต่ความแตกต่างอย่างชัดเจนในตอนนี้คือ บริษัทผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตในประเทศจีนได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ประชาชนผู้ใช้งานบริการต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต จะลงชื่อเข้าใช้งานด้วยชื่อจริงอย่างถูกต้องครบถ้วน และหากบริษัทผู้ให้บริการ ได้พบข้อมูล หรือความเคลื่อนไหวใดๆ ที่ผิดกฎหมาย ก็ต้องรายงานให้รัฐบาลทราบ
และถึงแม้ประเทศจีนจะมีความพยายามในการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชาชน ก็ยังพบว่ามีผู้คนจำนวนหนึ่ง พยายามหลบซ่อนตัวตนที่แท้จริงใน Weibo ซึ่งเป็นบริการโซเชียลเน็ตเวิร์กของชาวจีนที่คล้ายๆ กับ Twitter และมีการหลบซ่อนตัวตนในบริการออนไลน์อื่นๆ ด้วย รวมถึงมีการใช้ VPN เพื่อหลบเลี่ยง Firewall ของทางการจีน ซึ่งสิ่งนี้เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อทางการจีนเริ่มคุมเข้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น การหลบเลี่ยงด้วย VPN ก็ทำได้ยากขึ้น และที่เพิ่งเป็นข่าวไปเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหา กับการที่ทาง Apple ถอดแอพ VPN ออกจาก iTune store ของประเทศจีนก็เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าทางการจีนนั้นจริงจังกับการควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ตขนาดไหน
                                                 ที่มาhttps://news.thaiware.com/11202.html

คลิปกัปตันสายการบินโชว์ส่งไฟล์ภาพผ่าน AirDrop ที่ 35,000 ฟุต สุดท้ายกลายเป็น Fake...


คลิปกัปตันสายการบินโชว์ส่งไฟล์ภาพผ่าน AirDrop ที่ 35,000 ฟุต สุดท้ายกลายเป็น Fake...


 คลิปสุดว้าวที่เป็นกระแสไวรัลเมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ ที่เปรียบเหมือนการโชว์ประสิทธิภาพของฟีเจอร์ AirDrop แบบกลายๆ ซึ่งฟีเจอร์ AirDrop ใช้สำหรับการส่งไฟล์ให้กันระหว่างอุปกรณ์ iOS / Mac OS โดยไม่ต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ใช้สัญญาณ Wi-Fi และบลูทูธในการส่งไฟล์)
โดยในคลิปทางด้านบน เราจะเห็นว่ากัปตันเที่ยวบินขนส่งสินค้าของสหรัฐอเมริกาที่ขับเครื่อง Boeing 747-8 jumbo ที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต เขาได้มองเห็นเครื่องบินของของสายการบิน Singapore Airlines บินอยู่เหนือหัวเขา ที่ระดับความสูงขึ้นไปประมาณ 1,000 ฟุต กัปตันเครื่องบินขนส่งสินค้าเลยใช้เครื่อง iPhone ของเขาถ่ายภาพเครื่องบิน Singapore Airlines ที่บินอยู่เหนือหัว จากนั้นเขาก็ทำการส่งไฟล์ภาพผ่าน AirDrop ไปให้กัปตันของ Singapore Airlines จากนั้นก็เกิดการพูดคุยผ่านระบบวิทยุสื่อสารของเครื่องบิน ใจความประมาณว่า กัปตันของ Singapore Airlines ได้รับไฟล์ภาพถ่ายที่ส่ง AirDrop ไปให้แล้ว เรียกว่าจบคลิปแบบสวยๆ โปรโมทฟีเจอร์ AirDrop ไปแบบเต็มๆ กลายเป็นคลิปที่สร้างกระแสไวรัลไปเลย
แต่จากข่าวที่ออกมาล่าสุด ดูเหมือนว่าคลิปนี้จะกลายเป็นเรื่องโอละพ่อไปซะแล้ว เพราะทางสายการบิน Singapore Airlines ออกมาแถลงข่าวว่า เหตุการณ์ในคลิปไม่ได้เกิดขึ้นจริง และข้อความที่กัปตันของ Singapore Airlines พูดโต้ตอบทางวิทยุสื่อสาร ก็เป็นข้อความที่เขาโต้ตอบกับกัปตันของเที่ยวบินอื่นใน Singapore Airlines ไม่ได้โต้ตอบกับกัปตันของเครื่องบินขนส่งสินค้าอเมริกันที่ถ่ายคลิปแต่อย่างใด โดยที่ภาพถ่ายนั้นมีการส่งให้กันในภายหลังผ่านอีเมล์
ต่อเหตุการณ์ในคลิป กัปตันเครื่องบินขนส่งสินค้าชาวอเมริกัน อ้างว่าเขาสามารถส่งไฟล์ผ่านระบบ AirDrop ไปให้กัปตันเครื่องบินอีกลำ ที่บินอยู่เหนือกว่าที่ระดับประมาณ 1,000 ฟุต และคลิปนี้ได้รับการแชร์กว่า 9,000 ครั้งผ่าน Facebook และมียอด View 1,900 ครั้งหลังจากที่แชร์คลิปผ่าน YouTube ได้ 12 ชั่วโมง แต่ก็มีผู้ชมจำนวนไม่น้อย ที่คิดว่าคลิปนี้เป็นเรื่องหลอกลวง
จุดหนึ่งที่สามารถจับโกหกของกัปตันชาวอเมริกันได้คือ หน้าจอ iPhone ของเขาโชว์อย่างชัดเจนว่าอยู่ในโหมด Airplane และมีเพียงสัญญาณบลูทูธเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ในโหมดนี้ บวกกับข้อเท็จจริงที่ว่า Apple บอกว่าฟีเจอร์ AirDrop สามารถส่งไฟล์ได้ในระยะเพียง 30 ฟุตเท่านั้น
ในเมื่อเครื่อง iPhone ไม่ได้เชื่อมต่อกับสัญญาณ Wi-Fi ของเครื่องบิน และเครื่องบินทั้งสอง อยู่ในระยะห่างกันถึง 1,000 ฟุต แล้วกัปตันของเครื่องบินทั้งสองจะส่งไฟล์หากันได้อย่างไร? ทำให้คลิปนี้เหมือนจะเป็นเรื่องล้อกันเล่นมากกว่าเป็นเรื่องจริง

                                                 ที่มา https://news.thaiware.com/11004.html
                                                 ดูคลิป https://youtu.be/YAJ_KeG3_6A

แบตฯ แบบใหม่ จุไฟได้มากกว่าเดิม 3 เท่า ชาร์จเต็มภายในเวลาไม่กี่นาที ถูกคิดค้นโดยลุงวัย 94

แบตฯ แบบใหม่ จุไฟได้มากกว่าเดิม 3 เท่า ชาร์จเต็มภายในเวลาไม่กี่นาที ถูกคิดค้นโดยลุงวัย 94


 ชายอายุ 94 ปี นาม John B. Goodenough ไม่ใช่บุคคล No name ในวงการแบตเตอรี่แต่อย่างใด เขาเป็นศาสตร์ตราจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณ ประจำแผนกวิชาวิศวกรรมแห่งมหาวิทยาลัย Texas และผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของเขาที่คนทั้งโลกต้องยอมคารวะคือ เขาเป็นผู้คิดค้นแบตเตอรี่แบบ lithium-ion (Li-ion) แบตเตอรี่ขนาดเล็กๆ จุพลังงานไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก ที่มีใช้กันอยู่ในเครื่องสมาร์ทโฟนของเรานั่นเอง ซึ่งถ้าคุณลุง John ไม่คิดค้นแบตเตอรี่แบบ Li-ion ก็สุดจะคาดเดาว่า เราจะมีสมาร์ทโฟนเครื่องเล็กๆ ใช้กันในทุกวันนี้หรือไม่
และในเวลานี้ คุณลุง John ได้ร่วมงานกับนักวิจัยนาม Maria Helena Braga เพื่อดูแลทีมนักวิจัยในโครงการประดิษฐ์คิดค้นแบตเตอรี่แบบก้อนแข็ง (Solid-state battery) รูปแบบใหม่ ที่ปลอดภัยกว่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบตฯ Li-ion
แบตเตอรี่รูปแบบใหม่ ใช้สาร โซเดียม หรือลิเธียม ที่ถูกห่อหุ้มด้วยชั้นแก้วอิเล็กโทรไลต์ (อิเล็กโทรไลต์ คือสารที่สามารถนำไฟฟ้าได้เมื่ออยู่ในสภาวะของเหลว) คุณสมบัติอันน่าทึ่งของแบตเตอรี่แบบใหม่นี้คือ สามารถชาร์จพลังงานให้เต็มได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที เทียบกับแบตฯ Li-ion ของสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่ใช้เวลาชาร์จเป็่นชั่วโมง และแบตเตอรี่แบบใหม่นี้ยังมีความทนทานต่ออุณหภูมิ สามารถใช้งานในสภาวะเยือกแข็ง หรือในสภาพอากาศร้อนได้เป็นอย่างดี (-20 ถึง 60 องศาเซลเซียส) โดยการทดสอบในเบื้องต้น พบว่าแบตฯ แบบใหม่นี้ รองรับการชาร์จได้สูงถึง 1,200 รอบ สูงกว่าแบตฯ Li-ion และจุดเด่นของ แบตเตอรี่แบบใหม่นี้คือ ไม่มีส่วนประกอบที่อาจทำให้แบตเตอรี่ลุกไหม้ได้ ทำให้แบตฯ แบบใหม่ของลุง John โดดเด่นกว่าแบตฯ แบบ Li-ion อย่างชัดเจน ในเรื่องของความปลอดภัย
ลุง John กล่าวว่า "เทคโนโลยีแบบใหม่นี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ด้วยแบตฯ รูปแบบใหม่ที่ราคาถูกลง ปลอดภัยกว่า แถมยังจุพลังไฟได้มากกว่าเดิม และเรื่องจำนวนรอบการชาร์จที่แบตฯ สามารถรองรับได้ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการยอมรับมากขึ้น และเชื่อว่าการค้นพบใหม่ของเรา สามารถแก้ปัญหาของระบบแบตเตอรี่ในปัจจุบันได้"
โดยในช่วงเวลานี้ แบตเตอรี่รูปแบบใหม่อยู่ในขั้นตอนของห้องปฏิบัติการ และยังคงต้องมีการพัฒนาต่อไปจนกว่าจะถึงจุดที่เทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานได้อย่างจริงจัง จึงจะเริ่มมีการมองหาบริษัทเอกชนเพื่อการผลิตออกวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไปครับ
                                                                                                         ที่มาhttps://news.thaiware.com/9762.html

หน่วยเก็บข้อมูลระดับโมเลกุล เก็บไฟล์หนังได้ทุกเรื่อง ในพื้นที่เพียง 1 ตารางนิ้ว

  

หน่วยเก็บข้อมูลระดับโมเลกุล เก็บไฟล์หนังได้ทุกเรื่อง ในพื้นที่เพียง 1 ตารางนิ้ว


  ลองจินตนาการดูว่า มันจะดีขนาดไหนถ้าเราสามารถเก็บข้อมูลขนาด 200 เทราบิต หรือเทียบเท่ากับไฟล์หนังทุกเรื่องที่ฮอลลีวูดเคยสร้างมา ลงในหน่วยเก็บข้อมูลที่มีขนาดเล็กเพียง 1 ตารางนิ้ว และนี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยความจริงแต่อย่างใด อ้างอิงจากผลงานวิจัยล่าสุดจาก University of Manchester นักวิทยาศาสตร์สามารถแสดงวิธีการควบคุมสภาพความเป็นแม่เหล็กของโมเลกุลในบางระดับ เพื่อให้พวกมันสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ แต่ข่าวร้ายก็คือ เราต้องเก็บข้อมูลไว้ที่ระดับความเย็นติดลบ 213 องศาเซลเซียส (60 องศาเคลวิน)
โดยด็อกเตอร์ David Mills ที่เป็นอาจาร์ยสาขาวิชาเคมีอยู่ที่ University of Manchester ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ Digital Trends ว่า "พวกเราได้สร้างโมเลกุลรูปแบบใหม่ ที่สามารถเก็บข้อมูลในสภาพของแม่เหล็กที่ระดับความเย็น 60 องศาเคลวิน และเมื่อย้อนกลับไปในปี 2011 เราสามารถสร้างระบบเก็บข้อมูลระดับโมเลกุล ที่ระดับอุณหภูมิ 14 องศาเคลวิน แต่การพัฒนาให้หน่วยเก็บข้อมูลนี้ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ระดับอุณหภูมิ 77 องศาเคลวิน ก็เป็นอะไรที่ยั่วยวนมากๆ เนื่องจาก 77 องศาเคลวินนั้น เป็นระดับอุณหภูมิของไนโตรเจนเหลว และหากเราสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ระดับอุณหภูมิ 77 องศาเคลวิลได้จริง จะทำให้เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะไนโตรเจนเหลวมีราคาถูกและหาซื้อง่าย และในช่วงนี้เรากำลังค้นคว้าลงไปในรายละเอียดของโมเลกุลชนิดนี้ เพื่อหาสาเหตุว่า ทำไมมันถึงสามารถเก็บข้อมูลได้ดีกว่าโมเลกุลชนิดอื่นๆ"
ซึ่งจุดเด่นอย่างชัดเจนของการที่ทำให้โมเลกุล สามารถเก็บข้อมูลดิจิทัลได้คือ จะทำให้เกิดหน่วยเก็บข้อมูลที่มีความหนาแน่นสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป็นไปได้ว่าศูนย์ข้อมูล (Data center) ทั่วโลกจะมีขนาดเล็กลง และเป็นไปได้ว่าในปี 2050 บริษัทไอทีชั้นนำต่างๆ อย่างเช่น Google จะไม่ต้องขยายพื้นที่ หรือเพิ่มไซต์ของ Data center อีกต่อไป เพราะเราสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลในพื้นที่ที่เล็กลง
                                                                   ที่มาhttps://news.thaiware.com/11159.html

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รมว. ICT แจงเพิ่มกำลังการสื่อสารเพื่อเตือนภัย

            
            นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลโยลีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ขอบคุณหน่วยงานทุกหน่วยงานที่แจ้งสึนามิให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้รับทราบ พร้อมยืนยันว่า การเตือนภัยไม่ได้มีความล่าช้าและเครื่องมือการเตือนภัยก็ไม่ได้มีปัญหา ส่วนที่มีการสั่งยกเลิกการเตือนภัยเมื่อเวลา 22.00 น. นั้นเห็นว่าสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว และต้องการให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ขณะที่หน่วยงานของรัฐบาลได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อย่างเต็มที่อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปัญหาหนัก เผยตัวเลขมีการคืนสินค้ากลุ่ม Surface Pro 4 และ Surface Book จำนวนมาก

 จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ทาง Consumer Report ได้ถอดรายชื่อผลิตภัณฑ์กลุ่ม Surface ออกจากรายชื่อสินค้าแนะนำไปเนื่องจากมีปัญหาเยอะมากขึ้นในช่วงหลัง ล่าสุดมีการเผยข้อมูลภายในของ Microsoft ว่ามีการส่งสินค้า Surface Pro 4 และ Surface Book คืนเป็นจำนวนมากSurface Book มีอัตราการคืนทั้งสิ้น 17% ตั้งแต่เปิดตัว และยังคงมากกว่า 10% เสมอภายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ในส่วนของ Surface Pro 4 นั้นอยู่ที่ 16% ในช่วงเปิดตัว แต่หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ยอดคืนสินค้าลดลงเหลือต่ำหว่า 10% โดยข้อมูลเหล่านี้หลุดมาจากบันทึกของระดับผู้บริหาร Panos Panay
Microsoft เป็นบริษัทแรกๆ ที่นำ Intel Skylake มาใช้และได้พบว่ามันมีปัญหาเยอะมาก ทำให้ Microsoft ตัดสินใจผลักดัน ARM มาใช้กับ Windows 10 มากขึ้น ซึ่งตอนนั้นเอง CEO ของ Microsoft, Satya Nadella และ Lenovo ก็ได้ปรึกษากันถึงปัญหาของชิปประมวลผลตัวนี้ด้วย
ความจริงนั้น ทาง Microsoft เองก็ได้ปรับซอฟท์แวร์และไดร์เวอร์ให้เข้ากับอุปกณ์มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว (ชั่วคราว) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือขออุปกรณ์ให้มากขึ้น ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดความล่าช้าในการเปิดตัวอุปกรณ์ใหม่ซึ่งใช้โค้ดเนมว่า Andromeda และ Surface Hub ซึ่งต้องเลื่อนไปเป็นปี 2019 เลยทีเดียว
                           ที่มา:https://www.beartai.com/news/itnews/187182

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นาฬิกาอัจฉริยะหล่อๆ มาแล้ว Fossil Q เตรียมเปิดตัวในปีนี้ 4 รุ่น มี 2 รุ่น Pre-order ได้แล้ว

นาฬิกาอัจฉริยะหล่อๆ มาแล้ว Fossil Q เตรียมเปิดตัวในปีนี้ 4 รุ่น มี 2 รุ่น Pre-order ได้แล้ว
  Fossil ไม่ใช่หน้าใหม่แห่งวงการนาฬิกาอัจฉริยะอีกต่อไป เมื่อกันยายนปีที่แล้ว แบรนด์นาฬิกาสัญชาติอเมริกันที่เคยออกแบบอุปกรณ์อัจฉริยะแบบสวมใส่ได้ให้กับ Armani, DKNY, Michael Kors, Skagen, Kate Spade ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตชิปประมวลผล Qualcomm เพื่อเปิดตัว นาฬิกาอัจฉริยะ Fossil Q Wander และ Fossil Q Marshall และในปีนี้ที่งาน Baselworld 2017 ซึ่งจัดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ พวกเขาได้สานต่อความสำเร็จ กับการเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะ 4 รุ่นรวด ได้แก่ Q Accomplice, Q Activist, Q Venture และ Q Explorist โดย 2 รุ่นสุดท้ายเปิดให้ Pre-order ได้แล้ว
  และผู้ใช้งานต้องการสิ่งที่สามารถผสานรวมเทคโนโลยี เข้ากับไลฟ์สไตล์ของพวกเขาได้อย่างลงตัว และเราตระหนักว่า ผู้คนไม่ได้ต้องการเพียงสิ่งของที่มีความพิเศษ พวกเขายังต้องการประสบการณ์อันแสนวิเศษด้วย"
  คุณ Jill Elliot ดำรงตำแหน่ง Chief creative officer ของ Fossil กล่าวว่า "เป็นเวลาเกือบ 2 ปีมาแล้วหลังจากที่เราเปิดตัวครั้งแรก และมันก็ชัดเจนมากๆ ว่าเราเข้ามาในตลาดนี้ทำไม ก็เพื่อการสร้างสรรค์นั่นเอง เราคิดว่านาฬิกาอัจฉริยะที่มีอยู่ในท้องตลาดดีไซน์ยังไม่สวยงามพอที่จะเป็นเครื่องประดับ 

วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

IBM ประสบความสำเร็จในการเก็บข้อมูลขนาด 330 เทราไบต์ ในตลับเทปที่มีขนาดเล็กกว่าฝ่ามือ

 ด็อกเตอร์ Mark Lantz นักวิทยาศาสตร์ IBM โชว์เส้นเทปเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ ที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 201 กิกะไบต์ ในขนาดความยาวเส้นเทปเพียง 1 ตารางนิ้ว ซึ่งเป็นการทำลายสถิติโลกของหน่วยจัดเก็บข้อมูลความจุสูงเลยทีเดียว
 นักวิทยาศาสตร์ของ IBM ประสบความสำเร็จในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ถึง 330 เทราไบต์แบบที่ไม่มีการบีบอัด หรือเทียบเท่ากับหนังสือจำนวน 330 ล้านเล่ม ลงในตลับเทปที่มีขนาดเล็กพอที่จะวางลงบนฝ่ามือได้ และเทคโนโลยีเก็บข้อมูลบนเส้นเทปแม่เหล็กรูปแบบใหม่นี้ สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 201 กิกะไบต์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งเป็นความหนาแน่นข้อมูลที่สูงกว่าเส้นเทปที่ใช้เก็บข้อมูลในองค์กรธุรกิจยุคปัจจุบัน
lโดยที่ Tape drive หรือเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลบนเส้นเทปแม่เหล็ก ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อ 60 ปีที่แล้ว และมักจะถูกใช้ในการเก็บข้อมูลแบ็คอัพในเรื่องภาษี และใช้ในการเก็บเวชระเบียนของหน่วยงานทางด้านสุขภาพ  โดยม้วนเทปแบบแรกของ IBM นั้นเส้นเทปมีความกวางถึงครึ่งนิ้ว และสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงแค่ 2 เมกะไบต์เท่านั้น
                               
                                   ที่มา: https://news.thaiware.com/10963.htm

จีนคุมเข้มสื่ออินเทอร์เน็ต ควบคุมให้ประชาชนใช้ชื่อจริงในการใช้งาน!

จีนคุมเข้มสื่ออินเทอร์เน็ต ควบคุมให้ประชาชนใช้ชื่อจริงในการใช้งาน!   จีนเขย่าโลกอินเทอร์เน็ตอีกครั้งและในคราวนี้ดูเหมือนจะมีความซีเรี...